Back
Image Alt

เชียงใหม่จะเข้าร่วมเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ได้อย่างไร

เมืองที่สนใจสามารถยื่นใบสมัครที่ประกอบด้วยข้อมูลเมืองที่เหมาะสมและข้อมูลเชื่อมต่อ (links) ของเมือง ไปสู่เครือข่ายประเภทนั้น การสมัครจะต้องระบุผู้ที่ติดต่อหนึ่งคนและคณะบริหารที่ประกอบไปด้วย 3 ถึง 4 คน เป็นตัวแทนสาธารณชน เอกชน และกลุ่มชน ที่สามารถขับเคลื่อนการริเริ่มเมืองสร้างสรรค์ ภายในเมืองของตนเอง การสมัครจะต้องครอบคลุมถึง (อย่างสมบูรณ์แบบที่สุด) คำอธิบายเมืองในเรื่องเศรษฐกิจ สังคม และบริบททางวัฒนธรรม และกล่าวถึงภาพรวมของสาขาที่เมืองเลือกโดยย่อ และขยายความของสิ่งที่เมืองเสนอมอบให้ในสาขานั้นๆ

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวข้องกับขั้นตอนการสมัครและใบสมัคร หาได้ที่

http://www.unesco.org/culture/en/creativecities
การเสนอให้พิจารณา สามารถทำได้โดยผู้มีอำนาจของเมือง (city authority) หรือหน่วยบริการเทศบาล (municipal service) ผู้รับผิดชอบเรื่องการทำให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ท้องถิ่นยั่งยืน

การคัดเลือกเมืองสร้างสรรค์โดยองค์การ UNESCO

คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (National Commission for UNESCO) ของประเทศ จะถูกเรียกให้ออกความเห็นเป็นอันดับแรก ถ้าได้รับการเห็นชอบ แฟ้มการสมัครจะถูกพิจารณาใหม่โดยคณะผู้เชี่ยวชาญก่อตั้งในความร่วมมือกับหน่วยงานที่ทรงคุณวุฒิที่ิไม่เกี่ยวข้องกับราชการ คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะให้คำแนะนำกับอธิบดีขององค์การ UNESCO ในการตัดสินใจครั้งสุดท้าย

เมืองจะได้รับการเรียกชื่อดังต่อไปนี้

  • องค์การ UNESCO เมืองแห่งวรรณกรรม / ภาพยนตร์ / ดนตรี / หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน / การออกแบบ / การทำอาหาร / สื่อศิลปะ
  • เมืองที่ได้รับสิทธิที่จะใช้ชื่อ UNESCO และ logo ภายใต้ข้อตกลงและเงื่อนไขของกฎบัตรทางด้านกราฟฟิคขององค์การ UNESCO (UNESCO’s graphic charter)

หลักเกณฑ์เบื้องต้นของการเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ที่องค์การ UNESCO พิจารณา ได้แก่

  • หน่วยงานภาคราชการของเมืองต้องกำหนดยุทธศาสตร์และนโยบาย รวมถึงการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการเป็นเมืองสร้างสรรค์
  • เมืองต้องขับเคลื่อนสภาพแวดล้อมในเมือง และภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมโดยรวม อย่างสร้างสรรค์
  • การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจ และชุมชน
  • การจัดสรรพื้นที่ของเมือง เพื่อเป็นเวทีแสดงความคิดสร้างสรรค์ของประชาชน
  • การมีประสบการณ์การเป็นเจ้าภาพจัดงานและจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ ทั้งระดับประเทศและระดับนานาชาติ
  • การมีส่วนร่วมของภาคการศึกษา เพื่อสนับสนุนการเป็นเมืองสร้างสรรค์ เช่น การเรียนการสอน การวิจัย
  • เมืองต้องให้ความสำคัญแก่วัสดุท้องถิ่นและสภาพแวดล้อมในเมือง หรือธรรมชาติ

กระบวนการปรับปรุงองค์ประกอบของเมืองให้เป็นเมืองสร้างสรรค์

  • การศึกษาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเมือง (Cultural Identity) มีการศึกษาและเชิดชูเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของเมืองในบริบทของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสนับสนุนให้มีการพบปะและแลกเปลี่ยนทางความคิด เกิดเครือข่ายร่วมมือการทำงาน เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม และสืบทอดไปยังคนรุ่นต่อไป
  • การรวบรวมนักคิดและผู้ประกอบการสร้างสรรค์ (Talented / Creative Entrepreneur) มีการรวบรวมผู้มีความคิดสร้างสรรค์ในการผสมผสานวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เข้ากับเทคโนโลยี วัฒนธรรม และการจัดการด้านธุรกิจ ที่ก่อให้เกิดการงาน และกำลังซื้อสินค้าหมุนเวียนเป็นกลไกให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • การสร้างพื้นที่สร้างสรรค์และสิ่งอำนวยความสะดวก (Space & Facility) มีการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) ที่เพียงพอและมีคุณภาพ รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นๆ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการคิดสร้างสรรค์ และผลิตนักคิดรุ่นเยาว์และธุรกิจสร้างสรรค์