Back
Image Alt

บทความ

Chiang Mai Creative Ceramics, Sculped City Exhibition เอกสารประกอบการประชุม รวมบทความจากวิทยากร จากเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ประเทศไทย และต่างประเทศ Ceramics-Book-2022-UCCNดาวน์โหลด

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพงานหัตถกรรมพื้นบ้าน (เครื่องปั้นดินเผา) ร่วมกับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ระดับนานาชาติ สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะการสร้างสรรค์งานเครื่องปั้นดินเผา ในวันที่ 3 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ในงานประกอบด้วย การบรรยาย เสวนา และการปฏิบัติการด้านเทคนิค รูปแบบ ลวดลาย รวมถึงแนวทางการพัฒนาและต่อยอดงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ระหว่างเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในประเทศไทย เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจากต่างประเทศ รวมถึงเมืองที่มีความสนใจ เพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่างานหัตถกรรม รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ  ทั้งนี้ เพื่อสร้างแนวทางปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ และส่งเสริมความรู้ความสามารถของผู้คนอย่างต่อเนื่อง  พิธีเปิดกิจกรรม โดย นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2565 เป็นการบรรยายและเสวนาจากนักวิชาการ และตัวแทนของช่างฝีมือ

ขอเชิญผู้ประกอบการ นักออกแบบ ช่างฝีมืองานหัตถกรรม และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม"พลิกโฉมเชียงใหม่ สู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์" รับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ ถึง 3 พฤษภาคม 2565 รายละเอียดกิจกรรมและใบสมัคร https://forms.gle/4oQhqFipjYMWLCnd9 โทร.0824976335 / 0947194463 โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงอุตสาหกรรม

ผศ. ฐาปกรณ์ เครือระยา : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลับแม่โจ้ เครื่องเขินคือภาชนะที่ทำมาจากไม้ไผ่ เคลือบด้วยยางรัก และตกแต่งด้วยชาด (หาง) หรือทอง ตัวภาชนะมีความบาง ผิวสัมผัสจะมีความเรียบเนียน เครื่องเขินได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในภูมิเอเชียอาคเนย์ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ในเชียงตุงจะเรียกว่า “ยวนเถ่” หมายถึง เครื่องใช้ของคนยวน ซึ่งเป็นกลุ่มช่างที่ถูกส่งตัวไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชียงตุงในสมัยพญามังราย ส่วนที่ชุมชนนันทาราม เป็นแหล่งผลิตงานเครื่องเขินแบบขูดลายเพียงแห่งเดียวในภาคเหนือของประเทศไทย ชุมชนแห่งนี้เดิมทีเป็นชาวไทเขินที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเชียงตุงในสมัยพระเจ้ากาวิละ เป็นกลุ่มช่างที่มีความชำนาญในการทำเครื่องเขิน ในอดีตเรียกว่า “คัวฮักคัวหาง” แต่เมื่อได้รับอิทธิพลจากสยาม จึงเกิดการนิยามชื่อเรียกใหม่ว่า “เครื่องเขิน” โดยในยุคสมัยนั้นมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเครื่องเขินให้ตรงความความต้องการของผู้บริโภคจากทางภาคกลางอีกด้วย เครื่องเขินนันทารามมีส่วนประกอบหลักอยู่ 3 อย่าง คือ ไม้ไผ่ ยางรัก และชาด (หาง) ส่วนขั้นตอนการผลิตก็ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก คือ

“Hakata Magemono” เป็นหนึ่งในเทคนิคงานไม้ จากภูมิปัญญาโบราณของญี่ปุ่นที่ได้ความนิยมอย่างมากในยุคเอโดะ

จากสถานการณ์ขยะพลาสติกที่กำลังเป็นวิกฤติ จึงผุดไอเดียสร้างสรรค์ “Sustainable Backpack” กระเป๋าเป้รักษ์โลกที่ชวนผู้คนหันมาตระหนักถึงปัญหามลพิษขยะพลาสติก

หากคุณเป็นคนที่ชื่นชอบการออกกำลังกาย และหลงใหลในงานหัตถกรรมร่วมสมัย นี่คืออีกหนึ่งสิ่งที่เราขอใช้คำว่า “ของมันต้องมี” สำหรับคุณ

เครื่องจักสานเป็นหนึ่งในหัตกรรมพื้นบ้านที่ผูกพันกับผู้คนในภาคเหนือมาช้านาน หลักฐานใกล้ตัวที่พอจะช่วยยืนยันเรื่องนี้ได้ซุกซ่อนอยู่ในภาพจิตรกรรมฝาผนังอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปีของวิหารลายคำ

แม้จะออกตัวว่าที่คอลเลคชั่น “project undefined” นี้ สร้างขึ้นมาโดยไร้ซึ่งการออกแบบฟังก์ชั่นใช้งานสมชื่อชุด แต่ก็น่าจะช่วยจุดประกายให้หลายคนมองเห็นถึงความท้าทายและความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการต่อยอดงานหัตถกรรมเครื่องเคลือบดินเผา ที่ไม่ใช่เพียงการปรับปรุงรูปลักษณ์ให้โดดเด่นสะดุดตา

ดูจะเหมือนเป็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว เพราะในขณะที่อย่างแรกถูกออกแบบมาเพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคจำนวนมาก จึงเน้นการผลิตที่รวดเร็ว อาศัยทั้งนวัตกรรม เครื่องจักร และกำลังคน