Back

เครื่องเขิน

เครื่องเขิน (Lacquerware)

งานหัตถกรรมพื้นบ้านประเภทหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นภาชนะรูปทรงต่างๆ ที่ขึ้นเกิด จากการขดหรือสานไม้ไผ่ให้ได้รูปทรงตามต้องการ จากนั้นนํามาเคลือบด้วยยางรักเพื่อให้ภาชนะมีความคงทนแข็งแรง

จากนั้นมากขึ้นทำการตกแต่ง โดยการเขียนลวดลายด้วยชาด หรือการขูดลาย และบางครั้งยังมีการประดับด้วยทองคําเปลว หรือเงินเปลวด้วย ซึ่งภาชนะเครื่องเขินนี้จะมีชื่อ เรียกรวมๆ ในภาษาพื้นเมืองว่า “คัวฮักคัวหาง” บ้าง“เครื่องฮักเครื่องหาง” หรือ“เครื่องฮักเครื่องคํา” บ้าง ขึ้นอยู่กับลักษณะของการประดับ ตกแต่ง ว่าตกแต่งด้วยชาดหรือทองคําเปลว และเรียกชื่อภาชนะแต่ละชนิดไปตามหน้าที่การใช้สอย โดยการเขียนลวดลายด้วยชาด หรือการขูดลาย และบางครั้งยังมีการประดับด้วยทองคําเปลว หรือเงินเปลวด้วย ซึ่งภาชนะเครื่องเขินนี้จะมีชื่อ เรียกรวมๆ ในภาษาพื้นเมืองว่า “คัวฮักคัวหาง” บ้าง“เครื่องฮักเครื่องหาง” หรือ“เครื่องฮักเครื่องคํา” บ้าง ขึ้นอยู่กับลักษณะของการประดับ ตกแต่ง ว่าตกแต่งด้วยชาดหรือทองคําเปลว และเรียกชื่อภาชนะแต่ละชนิดไปตามหน้าที่การใช้สอย

กรรมวิธีการทําเครื่องเขิน

เทคนิคการทําเครื่องเขินตามแบบอย่างของเชียงใหม่ที่ทําสืบต่อกันมาแต่โบราณนั้นเริ่มต้นด้วยการขึ้นหุ่น คือการสร้างรูปภาชนะ หรือสิ่งของเครื่องใช้โดยนําเอาไม้บง หรือไม้เฮี๊ยะมาจักเป็นตอก การจักตอกนั้นจะต้องจักให้ได้ขนาดพอดีกับสิ่งที่สาน แล้วจึงนํามาขึ้นหุ่นซึ่งจะ ใช้วิธีการจักสานเช่นเดียวกันกับการทําเครื่องจักสานอื่นๆ แต่มีภาชนะบางประเภทที่ใช้วิธีการขดตอกแทนวิธีการจักสานแบบปกติ โดยจะขด ตอกเส้นนอกสุดเป็นวงกลมเพื่อให้เป็นเส้นที่มีความยาวของเส้นผ่าศูนย์กลางมากที่สุด เมื่อขดแล้วใช้มีดบากหัวท้ายให้ยึดต่อกันได้ ขดที่สองจะ ขดให้เป็นวงกลมอยู่ภายในขดแรกแต่ให้เหลื่อมกันเล็กน้อย ขดเส้นต่อไปให้อยู่ในเส้นก่อนหน้าและทําเช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนได้รูปทรงที่ต้องการ เทคนิคการขดนี้ใช้สําหรับการทําภาชนะที่มีทรงกลมหรือทรงกระบอก เช่น แจกัน พาน และอูบ เป็นต้น ส่วนภาชนะที่มีรูปทรงแปลกๆ จะใช้แม่ แบบเพื่อให้ได้รูปร่างและขนาดที่มาตรฐาน ซึ่งแม่แบบนี้ทําจากไม้กลึงให้ได้รูปทรงที่ต้องการ ภาชนะเหล่านี้ ได้แก่ ขันน้ํา โถแป้ง พานแว่นฟ้า และเชี่ยนหมาก เป็นต้น เมื่อขึ้นหุ่นได้เป็นภาชนะรูปทรงต่างๆแล้ว ใช้รักทาเคลือบให้ทั่ว ทิ้งไว้ให้แห้งแล้วขัดแต่งให้เรียบ จากนั้นจึงลงรักสมุกทั้งข้างนอกละ ข้างใน ตากให้แห้งแล้วขัดผิวให้เรียบ เสร็จแล้วใช้ขี้เถ้าแกลบผสมกับรัก หรือบางทีก็ใช้ขี้เลื่อย หรือดินสอพองผสมกับรักทาลงบนผิวภาชนะ ทิ้ง ไว้ให้แห้งสนิทแล้วจึงขัดแต่งผิวให้เรียบเสมอกัน และทายางรักจนมองไม่เห็นโครงสร้างภายใน ก็จะได้ภาชนะเครื่องรัก หรือเครื่องเขินที่ยังไม่มี ลวดลาย ซึ่งการทําลวดลายประดับภาชนะเครื่องรักหรือเครื่องเขินของเชียงใหม่มีทั้งการเขียนสี ปั้นรัก หรือพิมพ์รัก (รักกระแหนะ) การปิดทอง หรือลายรดน้ํา ปิดกระจก และการขูดผิวเป็นต้น แต่เทคนิคการทําลวดลายที่สําคัญและเป็นเอกลักษณ์ของงานเครื่องเขินที่ทํากันมาแต่โบราณ จะนิยมประดับตกแต่งด้วยการขูดผิว และการเขียนสี

รูปแบบของเครื่องเขินเชียงใหม่อาจจําแนกตามรูปทรง และเทคนิคของการประดับตกแต่งได้ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มแรก เครื่องเขินแบบพื้น บ้าน เป็นงานเครื่องจักสานที่ทาด้วยยางรักเพียงไม่กี่ครั้งและประดับตกแต่งอย่าง่ายๆ สําหรับเป็นของใช้ในชีวิตประจําวัน เครื่องเขินกลุ่มนี้ ส่วนมากจะเป็นเครื่องจักสานที่ลงรักสีดํา หากจะมีการตกแต่งก็เพียงแค่ทาชาดสีแดงอย่างเรียบๆ เครื่องเขินชนิดนี้คงเป็นสิ่งของเครื่องใช้ที่ชาว ล้านนาในอดีตผลิตขึ้นใช้เองภายในครัวเรือน

กลุ่มที่สอง เครื่องเขินของบ้านเขินนันทาราม เครื่องเขินชนิดนี้มีโครงสร้างเป็นงานจักสานลายขัดด้วยเส้นตอกไม้ไผ่ ซึ่งเหลาให้มี ขนาดเรียวเล็กคล้ายทางมะพร้าว สานขัดกับตอกเส้นแบนเป็นรูปแฉกรัศมีจากก้นของภาชนะ ขัดสานจนได้รูปทรงตามที่ต้องการ เครื่องเขิน กลุ่มนี้จึงมีโครงสร้างที่แน่นและแข็งแรง ผิวเรียบเสมอกันโดยตลอด เมื่อทารักสมุกแล้วขัดจะได้ภาชนะที่ค่อนข้างเรียบบาง และมีน้ําหนักเบา ลักษณะเด่นของการตกแต่งเครื่องเขินชนิดนี้นิยมการขูดลาย หรือที่เรียกว่า “ฮายดอก” เครื่องเขินในกลุ่มนี้มักทําเป็นสิ่งของที่มีขนาดไม่ใหญ่ นัก เช่น เชี่ยนหมาก ขันดอก ขันโอ แอบใส่ของ ฝาบาตร และเชิงบาตรเป็นต้น

กลุ่มสุดท้ายคือเครื่องเขินแบบสันป่าตอง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีโครงสร้างที่เกิดจากการจักสานเป็นลายขัดหรือขดให้เกิดภาชนะรูปทรง ต่างๆ มีการดามและรัดขอบเป็นชั้นๆ ด้วยตอกหรือหวายเพื่อให้เกิดความแข็งแรงและสวยงาม การประดับตกแต่งเกิดจากการถมพื้นผิวให้เรียบ แล้วเขียนลวดลายด้วยชาด บางครั้งมีการปิดทองคําเปลวเพื่อเน้นส่วนสําคัญของลวดลายให้เด่นชัดขึ้น เครื่องเขินกลุ่มนี้มักทําเป็นสิ่งของขนาด ใหญ่ เช่น ขันหมาก ปุงใส่เม็ดพืช และหีบผ้า เป็นต้น

แหล่งผลิตเครื่องเขินของเชียงใหม่ในปัจจุบัน

บ้านเขินนันทาราม อำเภอเมืองเชียงใหม่

ถือเป็นแหล่งผลิตเครื่องเขินแหล่งใหญ่ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และยังคงมีการผลิตเครื่องเขินเพื่อเป็นสินค้าสําหรับ จําหน่าย เอกลักษณ์ของเครื่องเขินนันทารามนั้น เป็นภาชนะที่มีผิวค่อนข้างเรียบและมีน้ำหนักเบา ส่วนการประดับตกแต่งของเครื่องเขินนันทารามยังคงรักษารูปแบบ และเทคนิคการขูดลายแบบโบราณ ซึ่งเทคนิคการตกแต่งผิวภาชนะด้วยวิธีการขูดลายนี้ ภาชนะที่นํามาทําลวดลาย จะต้องมีผิวบางและเรียบ ยางรักที่เคลือบต้องแห้งสนิท จากนั้นนํามาขูดลายโดยใช้เหล็กปลายแหลม หรือเหล็กจารขูดลงไปบนผิวยางรักของ ภาชนะ เมื่อขูดลายเสร็จแล้วจึงนํายางรักที่ผสมกับชาดสีแดงถมลงไปในร่องที่ขูดไว้ ตากให้แห้งแล้วจึงขัดขัดผิวชั้นอกสุดออกจนมอง เห็นลวดลายสีแดงที่ฝังอยู่ในพื้นสีดําของยางรัก ทาเคลือบด้วยรักใสหรือรักเงาเพื่อเป็นการเคลือบลวดลายทั้งหมดให้ติดแน่นกับภาชนะ ซึ่งการ ตกแต่งลักษณะนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของภาชนะเครื่องเขินแบบเชียงใหม่มาตั้งแต่อดีต นอกจากนี้ยังพบว่ามีการตกแต่งภาชนะโดยใช้หอยเบี้ย ติดลงไปบนฐานของภาชนะเครื่องเขินประเภทขัน หรือโอสําหรับกันกระแทก และบ่งบอกถึงฐานะของผู้ใช้ด้วย

บ้านศรีปันครัว อำเภอเมืองเชียงใหม่

เป็นชุมชนที่มีการผลิตเครื่องเขินอีกแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่มาตั้งแต่สมัยโบราณ ลักษณะของเครื่องเขินที่ผลิตในหมู่บ้านศรีปันครัวนี้ ส่วนมากจะเป็นภาชนะที่ขึ้นรูปทรงของภาชนะด้วยการขดตอกไม้ไผ่ให้เป็นรูป ทรงตามที่ต้องการ เช่น พาน ตะลุ่ม ขันดอก ขันหมาก หีบผ้าใหม่ ขันโตก และขันโอ เป็นต้น แต่เนื่องจากในปัจจุบันวัสดุที่ใช้ในการทําเครื่องเขิน ทั้งรัก และชาดนั้นค่อนข้างหายากและมีราคาสูง ดังนั้นชาวบ้านศรีปันครัวจึงเปลี่ยนมาใช้วัสดุสมัยใหม่ เช่น สีน้ํามันและสีพลาสติกแทน

บ้านต้นแหน อําเภอสันป่าตอง

เป็นอีกหมู่บ้านนึ่งที่มีการผลิตเครื่องเขิน โดยช่างชาวบ้านต้นแหนนี้มีความชํานาญในการการทําเครื่องเขิน ลงรัก และ เขียนชาดเป็น ในอดีตภาชนะเครื่องเขินประเภทขันหมาก ขันดอก และขันโตกหลากหลายรูปแบบที่ชาวบ้านต้นแหนได้ผลิตขึ้นนั้นจัดได้ว่าเป็น สินค้าส่งออกที่สร้างรายได้จํานวนไม่น้อยให้กับชาวบ้าน เครื่องเขินของบ้านต้นแหนแบบโบราณมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น อยู่ที่ลวดลายประดับตกแต่ง โดยช่างจะนิยมทารักสีดําทับไปบน โครงสร้างที่เป็นเครื่องไม้ ที่อาจทําด้วยไม้ไผ่สานหรือขด หรือเป็นไม้สัก ไม้ขนุน และไม้แดงกลึงก็มี แล้วมีการเขียนลวดลายด้วยชาดสีแดงสด เป็นลวดลายพันธุ์พฤกษาที่มีความงดงาม ซึ่งเกิดจากความชํานาญในการตวัดปลายพู่กันให้เกิดเป็นเส้นโค้งฉวัดเฉวียน บางครั้งมีการปิด ทองคําเปลวเป็นเส้นขอบ หรือเป็นเกสรดอกไม้ที่ต้องการเน้นให้เป็นส่วนสําคัญ หรืออาจจะใช้รงค์ซึ่งมีสีเหลืองเขียนเป็นลายแทนการปิดทองคํา เปลวก็จะมีความงดงามไปอีกแบบหนึ่ง