Back

เครื่องจักสาน

เครื่องจักสานพื้นบ้านในภาคเหนือหรือล้านนานั้น ถือได้ว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีการ ทําสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ดังเห็นได้จากภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารของวัดหลายแห่งใน เขตภาคเหนือ ที่มีภาพชาวบ้านใช้เครื่องจักสานในชีวิตประจําวันปรากฏอยู่

คําว่า “เครื่องจักสาน” นั้นเป็นคําที่เรียกขึ้นตามกรรมวิธีในการผลิตที่ทําให้เกิดเป็นภาชนะ ซึ่งจะ ต้องผ่านกระบวนการที่ประกอบด้วยการ “จัก” คือการนําวัสดุมาทําให้เป็นเส้น เป็นแฉก หรือเป็นริ้ว เพื่อ ความสะดวกในการสาน การจักถือได้ว่าเป็นขั้นตอนแรกของการเตรียมวัสดุในการทําเครื่องจักสาน ส่วนการ “สาน” นั้นเป็นขั้นตอนที่สําคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการทําเครื่องจักสาน ถัดจากการจักซึ่ง เป็นการเตรียมวัสดุ การสานนั้นถือได้ว่าเป็นกระบวนการทางความคิดที่สร้างสรรค์ของมนุษย์ ในการนํา วัสดุที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ ลักษณะของการสานในยุคเริ่มแรกจะเป็นการสานไปตามแนวราบ

โดยใช้วัสดุขัดกันไปมาอย่างง่ายๆ ตามแบบที่เรียกกันว่า “ลายขัด” ด้วยการยกขึ้นเส้นหนึ่งและกดลงเส้น หนึ่งให้เกิดการขัดกัน ทําให้วัสดุคงรูปต่อเนื่องกันไปเป็นพื้นที่มากขึ้นตามความต้องการ และจากการสาน ด้วยลายขัดตามแนวราบมนุษย์ก็ได้พัฒนาการสาน เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยจึง เกิดเป็นภาชนะขึ้นมา โดยอาจจะสานลายขัดนั้นเข้ากับแม่แบบเพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงของภาชนะ แม่แบบ สําหรับสานภาชนะนั้นอาจจะเป็นเปลือกผลไม้ หรือเครื่องปั้นดินเผาก็ได้ และเมื่อมนุษย์คิดค้นวิธีการสาน ภาชนะได้สําเร็จแล้ว ก็ได้พัฒนาลวดลายที่ใช้ในการสานด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ภาชนะที่มีรูปทรงเหมาะสม กับการใช้สอย และเกิดความสวยงามน่าใช้ยิ่งขึ้น

โดยใช้วัสดุขัดกันไปมาอย่างง่ายๆ ตามแบบที่เรียกกันว่า “ลายขัด” ด้วยการยกขึ้นเส้นหนึ่งและกดลงเส้น หนึ่งให้เกิดการขัดกัน ทําให้วัสดุคงรูปต่อเนื่องกันไปเป็นพื้นที่มากขึ้นตามความต้องการ และจากการสาน ด้วยลายขัดตามแนวราบมนุษย์ก็ได้พัฒนาการสาน เพื่อตอบสนองความต้องการด้านประโยชน์ใช้สอยจึง เกิดเป็นภาชนะขึ้นมา โดยอาจจะสานลายขัดนั้นเข้ากับแม่แบบเพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงของภาชนะ แม่แบบ สําหรับสานภาชนะนั้นอาจจะเป็นเปลือกผลไม้ หรือเครื่องปั้นดินเผาก็ได้ และเมื่อมนุษย์คิดค้นวิธีการสาน ภาชนะได้สําเร็จแล้ว ก็ได้พัฒนาลวดลายที่ใช้ในการสานด้วยเช่นกัน เพื่อให้ได้ภาชนะที่มีรูปทรงเหมาะสม กับการใช้สอย และเกิดความสวยงามน่าใช้ยิ่งขึ้น