Back
Image Alt

2565

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพงานหัตถกรรมพื้นบ้าน (เครื่องปั้นดินเผา) ร่วมกับเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO ระดับนานาชาติ สำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทักษะการสร้างสรรค์งานเครื่องปั้นดินเผา ในวันที่ 3 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2565 ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ ในงานประกอบด้วย การบรรยาย เสวนา และการปฏิบัติการด้านเทคนิค รูปแบบ ลวดลาย รวมถึงแนวทางการพัฒนาและต่อยอดงานหัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผา ระหว่างเมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านในประเทศไทย เมืองสร้างสรรค์ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านจากต่างประเทศ รวมถึงเมืองที่มีความสนใจ เพื่อสร้างความตระหนักถึงคุณค่างานหัตถกรรม รวมถึงสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับท้องถิ่นและระดับนานาชาติ  ทั้งนี้ เพื่อสร้างแนวทางปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ และส่งเสริมความรู้ความสามารถของผู้คนอย่างต่อเนื่อง  พิธีเปิดกิจกรรม โดย นางวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธาน วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2565 เป็นการบรรยายและเสวนาจากนักวิชาการ และตัวแทนของช่างฝีมือ

ขอเชิญผู้ประกอบการ นักออกแบบ ช่างฝีมืองานหัตถกรรม และผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม"พลิกโฉมเชียงใหม่ สู่การยกระดับผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมสร้างสรรค์" รับสมัคร ตั้งแต่วันนี้ ถึง 3 พฤษภาคม 2565 รายละเอียดกิจกรรมและใบสมัคร https://forms.gle/4oQhqFipjYMWLCnd9 โทร.0824976335 / 0947194463 โดยสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงอุตสาหกรรม

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูภูมิปัญญาและงานหัตถกรรม (เครื่องเขิน) ระดับนานาชาติ โดยความร่วมมือจากเทศบาลเมืองคานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น เมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน คุณวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกอบจ.เชียงใหม่ คณุวรรณศรี ปัญญาประชุม ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบจ.เชียงใหม่ ร่วมบันทึกภาพกับวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมในพิธีเปิด การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบและวิธีการผลิตเครื่องเขิน ระหว่างครูภูมิปัญญางานหัตถกรรมประเภทเครื่องเขินและช่างฝีมือจากเมืองเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย ชุมชนศรีปันครัว ชุมชนนันทาราม ชุมชนต้นแหนน้อย และเมืองคานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงผู้ที่สนใจในมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ยังสร้างแนวทางปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ และส่งเสริมความรู้ความสามารถของผู้คนอย่างต่อเนื่อง โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ประกอบด้วย การเผยแพร่สื่อวิดิทัศน์เพื่อนำเสนอวิธีการผลิตเครื่องเขิน การบรรยายให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเขินของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น นำไปสู่การต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยการพัฒนารูปแบบให้สอดคล้องกับการใช้งานในยุคปัจจุบัน ก่อให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืนให้แก่ครูภูมิปัญญา ช่างฝีมือ และคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจต่อไปในอนาคต วิทยากรจากเมืองคานาซาวะ บรรยายผ่านระบบออนไลน์ให้ผู้เข้าร่วมการอบรมในห้องประชุม วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นการจัดกิจกรรมการบรรยาย เสวนา