Back
Image Alt

กันยายน 2021

กระดาษสาถูกเผยแพร่เข้ามาในเชียงใหม่ พร้อมกับพุทธศาสนา จากประเทศจีน เพื่อใช้ทำบันทึกคำสั่งสอน ดังนั้นการใช้กระดาษสาของชาวพื้นเมืองทางภาคเหนือ จึงเกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและพิธีกรรมทางพุทธศาสนาอย่างมากกล่าวคือ การตกแต่งถวายทานแทบทุกประเภท จะตกแต่งด้วยกระดาษสาทาสีต่าง ๆ ให้สวยงาม เพื่อใช้ในงานเทศกาลต่างๆ ของวัด และพิธีกรรมต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่มีการผลิตกระดาษจากต้นสา โดยเป็นทั้งกระดาษเป็นแผ่นเพื่อใช้ห่อของและพัฒนาต่อเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ เช่น ร่มกระดาษสา หรือกล่องใส่เครื่องประดับ รวมไปถึงงานดอกไม้ประดิษฐ์จากกระดาษอีกด้วย และต่อมางานกระดาษจึงมีการผลิตเป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือน และได้รับความนิยมมากจึงขยายการผลิตสู่ตลาดต่างประเทศ งานกระดาษเป็นสินค้าที่สร้างชื่อให้อำเภอสันกำแพง และอำเภอแม่ริม แหล่งผลิตงานกระดาษในจังหวัดเชียงใหม่ พบอยู่ จำนวน ๓ แหล่ง ได้แก่ อำเภอสันกำแพง บ้านต้นเปา เป็นหมู่บ้านหนึ่งในเขตตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนที่ผลิตกระดาษสา สินค้าหัตถกรรมที่ทำจากกระดาษสาด้วยภูมิปัญญาของท้องถิ่นตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่ได้สืบทอดกันมา กว่า๑๐๐ ปีแล้ว ในอดีต คนบ้านต้นเปาทำกระดาษสาแล้วจะพับเป็นพัดเอาไปขายที่ตลาดบ้านบ่อสร้าง

เครื่องโลหะแบ่งได้เป็นสองชนิดที่พบในเขตจังหวัดเชียงใหม่ได้แก่เครื่องเงิน และเครื่องทองเหลือง แหล่งผลิตเครื่องเงินที่พบในจังหวัดเชียงใหม่มีทั้งหมด ๒ แหล่ง คือ “ชุมชนบ้านวัวลาย” และ “บ้านศรีสุพรรณ” ถือได้ว่าเป็นแห่งผลิตเครื่องเงินแหล่งใหญ่ของเมืองเชียงใหม่ที่มีการทำเครื่องเงินผลิตภัณฑ์

การทำเครื่องปั้นดินเผาในดินแดนล้านนานั้นได้ปรากฏหลักฐานมานับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สืบทอดมาจนกระทั่งถึงสมัยหริภุญไชย แต่เครื่องปั้นดินเผาเหล่านี้เป็นเครื่องปั้นดินเผาเนื้อดินธรรมดา ที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้เองภายในชุมชนหรือท้องถิ่นของตนเท่านั้น ส่วนการทำเครื่องปั้นดินเผาชนิดเนื้อแกร่งทั้งแบบเคลือบและไม่เคลือบนั้น น่าจะเริ่มมีการผลิตขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙ โดยเชื่อว่ามีช่างชาวจีนเข้ามาพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเครื่องปั้นดินเผาให้สูงขึ้น ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ ๒๐ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ล้านนามีความเจริญรุ่งเรืองและมั่นคง การผลิตเครื่องปั้นดินเผาจึงเพิ่มมากขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการภายใน รวมทั้งผลิตขึ้นเพื่อเป็นสินค้าส่งไปจำหน่ายให้แก่เมืองอื่นๆ โดยมีแหล่งผลิตขนาดใหญ่อยู่ด้วยกัน ๓ แหล่ง คือ แหล่งเตาสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ แหล่งเตาเวียงกาหลง จังหวัดเชียงราย (นับรวมแหล่งเตาวังเหนือ จังหวัดลำปาง) และแหล่งเตาเมืองพาน จังหวัดเชียงราย เทคนิคการปั้นขึ้นรูปเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้ในการผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบพื้นเมืองตั้งแต่สมัยโบราณ และยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่จะเป็นการปั้นหรือขึ้นรูปทรงด้วยมือ ซึ่งนับว่าเป็นกรรมวิธีที่เก่าแก่ที่สุดในการทำเครื่องปั้นดินเผา ก่อนที่จะมีเครื่องมือชนิดอื่นๆ มาช่วยในการปั้น แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาในเชียงใหม่ แหล่งผลิตเครื่องปั้นดินเผาในเชียงใหม่ แหล่งเตาสันกำแพง อำเภอสันกำแพง เป็นแหล่งผลิตเครื่องเคลือบแหล่งใหญ่ของล้านนา ที่พบซากเตาเผากระจัดกระจายอยู่ในเขตพื้นที่ ๕.๐๐ -๕.๕๐ ตารางกิโลเมตร โดยมีกลุ่มเตากระจายอยู่ ๘ กลุ่ม

ดินแดนล้านนา หรือภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเป็นดินแดนที่พบว่ามีผ้าทอพื้นเมืองอยู่ค่อนข้างมากและมีความหลากหลาย ทั้งนี้เนื่องด้วยมีกลุ่มชนหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ในดินแดนแห่งนี้ ซึ่งแต่ละกลุ่มชนล้วนรู้จักการทอผ้าเพื่อใช้ประโยชน์ใช้สอยต่างๆ และมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์ ด้วยเหตุนี้ผ้าทอพื้นเมืองที่พบในดินแดนล้านนาจึงมีรูปแบบ เทคนิค และลวดลายที่แตกต่างกันออกไปตามแต่ละท้องถิ่นและชาติพันธุ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ หรือภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์นั้นๆ ในอดีตการทอผ้าของล้านนาจะปรากฏมีอยู่ในชุมชนต่างๆ แทบทุกหมู่บ้าน เนื่องจากเครื่องนุ่งห่มเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต จึงเป็นวิถีชีวิตของสตรีชาวล้านนาที่จะต้องรู้จักวิธีการทอผ้า ซึ่งผ้าที่ชาวล้านนาทอขึ้นสำหรับใช้สอยนั้นอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ประเภทแรก เป็นผ้าที่ทอขึ้นสำหรับใช้สอยในชีวิตประจำวัน ผ้าประเภทนี้จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับความประณีตงดงามมากนัก เช่น ผ้าซิ่นที่ชาวบ้านใช้นุ่งสำหรับทำงาน หรืออยู่กับบ้าน มักจะเป็นซิ่นที่ทอจากผ้าฝ้ายเรียบสีเรียบๆ มีลวดลายอย่าง่าย เน้นสีพื้นเป็นหลัก หรือถ้าจะทอเป็นผ้าสำหรับตัดเสื้อที่ใช้ในชีวิตประจำวันก็จะมีลักษณะเป็นผ้าฝ้ายเนื้อหยาบเพื่อความคงทน โดยอาจมีการย้อมสีด้วยวัสดุจากธรรมชาติ เช่น ผ้าหม้อห้อมก็จะย้อมสีด้วยใบของต้นคราม เป็นต้น นอกจากเครื่องนุ่งห่มแล้ว ผ้า ยังมีหน้าที่ใช้สอยอื่นๆ เป็นต้นว่า ผ้าขาวม้า ผ้าห่ม และย่าม ก็มักจะทอขึ้นอย่างเรียบๆ แต่บางท้องถิ่นจะมีการทอให้มีลวดลายและสีสันที่สวยงามบ้างก็มี ส่วนอีกประเภทหนึ่งนั้น

เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างประชาชนในท้องถิ่นกับภาคส่วนต่างๆ ในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ของเมืองเชียงใหม่

งานหัตถกรรมพื้นบ้านประเภทหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ มีลักษณะเป็นภาชนะรูปทรงต่างๆ ที่ขึ้นเกิด จากการขดหรือสานไม้ไผ่ให้ได้รูปทรงตามต้องการ จากนั้นนํามาเคลือบด้วยยางรักเพื่อให้ภาชนะมีความคงทนแข็งแรง

เครื่องจักสานพื้นบ้านในภาคเหนือหรือล้านนานั้น ถือได้ว่าเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่มีการ ทําสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ดังเห็นได้จากภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในวิหารของวัดหลายแห่งใน เขตภาคเหนือ ที่มีภาพชาวบ้านใช้เครื่องจักสานในชีวิตประจําวันปรากฏอยู่ คําว่า “เครื่องจักสาน” นั้นเป็นคําที่เรียกขึ้น

การแกะสลักไม้เป็นงานศิลปกรรมพื้นบ้านของชาวล้านนา ที่ทำสืบต่อกันมาเป็นเวลาช้านาน ในอดีต การแกะสลักไม้ส่วนใหญ่จะเป็นงานศิลปกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับสิ่งก่อสร้าง เนื่องในพุทธศาสนา นอกจากนั้นก็จะการแกะไม้เพื่อใช้ประดับตกแต่งบ้านเรือนบ้าง หรือทำเป็นสิ่งของเครื่องใช้เล็กๆ น้อยๆ บ้าง

นวันที่ 30-31 มกราคม 2562 นี้ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดงาน การปฏิรูปการศึกษาเชียงใหม่ ครั้งที่ 4 “พื้นที่นวัตกรรมทางการศึกษาเชียงใหม่”

ในวันที่ 9-11 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา โครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน ประชุมร่วมกับ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ร่วมกันหารือเพื่อช่วยผลักดันพื้นที่พิเศษในการกำกับดูแล เช่นจังหวัดน่าน