Back
Image Alt

มีนาคม 2022

ผศ. ฐาปกรณ์ เครือระยา : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลับแม่โจ้ เครื่องเขินคือภาชนะที่ทำมาจากไม้ไผ่ เคลือบด้วยยางรัก และตกแต่งด้วยชาด (หาง) หรือทอง ตัวภาชนะมีความบาง ผิวสัมผัสจะมีความเรียบเนียน เครื่องเขินได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในภูมิเอเชียอาคเนย์ เนื่องจากส่วนใหญ่แล้วจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ในเชียงตุงจะเรียกว่า “ยวนเถ่” หมายถึง เครื่องใช้ของคนยวน ซึ่งเป็นกลุ่มช่างที่ถูกส่งตัวไปอาศัยอยู่ที่เมืองเชียงตุงในสมัยพญามังราย ส่วนที่ชุมชนนันทาราม เป็นแหล่งผลิตงานเครื่องเขินแบบขูดลายเพียงแห่งเดียวในภาคเหนือของประเทศไทย ชุมชนแห่งนี้เดิมทีเป็นชาวไทเขินที่ถูกกวาดต้อนมาจากเมืองเชียงตุงในสมัยพระเจ้ากาวิละ เป็นกลุ่มช่างที่มีความชำนาญในการทำเครื่องเขิน ในอดีตเรียกว่า “คัวฮักคัวหาง” แต่เมื่อได้รับอิทธิพลจากสยาม จึงเกิดการนิยามชื่อเรียกใหม่ว่า “เครื่องเขิน” โดยในยุคสมัยนั้นมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบเครื่องเขินให้ตรงความความต้องการของผู้บริโภคจากทางภาคกลางอีกด้วย เครื่องเขินนันทารามมีส่วนประกอบหลักอยู่ 3 อย่าง คือ ไม้ไผ่ ยางรัก และชาด (หาง) ส่วนขั้นตอนการผลิตก็ประกอบด้วย 3 กระบวนการหลัก คือ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูภูมิปัญญาและงานหัตถกรรม (เครื่องเขิน) ระดับนานาชาติ โดยความร่วมมือจากเทศบาลเมืองคานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น เมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน คุณวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกอบจ.เชียงใหม่ คณุวรรณศรี ปัญญาประชุม ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบจ.เชียงใหม่ ร่วมบันทึกภาพกับวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมในพิธีเปิด การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบและวิธีการผลิตเครื่องเขิน ระหว่างครูภูมิปัญญางานหัตถกรรมประเภทเครื่องเขินและช่างฝีมือจากเมืองเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย ชุมชนศรีปันครัว ชุมชนนันทาราม ชุมชนต้นแหนน้อย และเมืองคานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงผู้ที่สนใจในมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ยังสร้างแนวทางปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ และส่งเสริมความรู้ความสามารถของผู้คนอย่างต่อเนื่อง โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ประกอบด้วย การเผยแพร่สื่อวิดิทัศน์เพื่อนำเสนอวิธีการผลิตเครื่องเขิน การบรรยายให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเขินของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น นำไปสู่การต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยการพัฒนารูปแบบให้สอดคล้องกับการใช้งานในยุคปัจจุบัน ก่อให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืนให้แก่ครูภูมิปัญญา ช่างฝีมือ และคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจต่อไปในอนาคต วิทยากรจากเมืองคานาซาวะ บรรยายผ่านระบบออนไลน์ให้ผู้เข้าร่วมการอบรมในห้องประชุม วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นการจัดกิจกรรมการบรรยาย เสวนา