Back

อบรมพัฒนาศักยภาพครูภูมิปัญญาและงานหัตถกรรม (เครื่องเขิน) ระดับนานาชาติ

กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพครูภูมิปัญญาและงานหัตถกรรม (เครื่องเขิน) ระดับนานาชาติ โดยความร่วมมือจากเทศบาลเมืองคานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น เมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน

คุณวิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ รองนายกอบจ.เชียงใหม่ คณุวรรณศรี ปัญญาประชุม ผู้อำนวยการสำนักการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม อบจ.เชียงใหม่ ร่วมบันทึกภาพกับวิทยากรและผู้เข้าร่วมอบรมในพิธีเปิด

การจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้รูปแบบและวิธีการผลิตเครื่องเขิน ระหว่างครูภูมิปัญญางานหัตถกรรมประเภทเครื่องเขินและช่างฝีมือจากเมืองเชียงใหม่ ซึ่งประกอบด้วย ชุมชนศรีปันครัว ชุมชนนันทาราม ชุมชนต้นแหนน้อย และเมืองคานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น รวมถึงผู้ที่สนใจในมรดกวัฒนธรรมในจังหวัดเชียงใหม่ ทั้งนี้ยังสร้างแนวทางปฏิบัติอย่างสร้างสรรค์ในการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม สนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ และส่งเสริมความรู้ความสามารถของผู้คนอย่างต่อเนื่อง โดยการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ประกอบด้วย การเผยแพร่สื่อวิดิทัศน์เพื่อนำเสนอวิธีการผลิตเครื่องเขิน การบรรยายให้ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเขินของประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น นำไปสู่การต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยการพัฒนารูปแบบให้สอดคล้องกับการใช้งานในยุคปัจจุบัน ก่อให้เกิดรายได้ที่ยั่งยืนให้แก่ครูภูมิปัญญา ช่างฝีมือ และคนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจต่อไปในอนาคต

วิทยากรจากเมืองคานาซาวะ บรรยายผ่านระบบออนไลน์ให้ผู้เข้าร่วมการอบรมในห้องประชุม

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นการจัดกิจกรรมการบรรยาย เสวนา และการปฏิบัติการ โดยวิทยากรบรรยายให้ผู้เข้าร่วมรับฟังและถามตอบ โดยวิทยากรเมืองเชียงใหม่บรรยายในห้องประชุม และวิทยากรเมืองคานาซาวะบรรยายผ่านระบบการประชุมออนไลน์ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ถ่ายทอดผ่านระบบออนไลน์สำหรับผู้ประสงค์รับฟัง เนื่องจากข้อกำหนดของกรมควบคุมโรค เรื่องการระบายของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (Covid-19) กำหนดผู้เข้าร่วมในห้องประชุมได้ไม่เกิน 50 คน

ปฏิบัติการ “ฮายลายเครื่องเขิน” แบบบ้านนันทาราม การสร้างลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของหัตถกรรมเมืองเชียงใหม่

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นกิจกรรมการบรรยายและการปฏิบัติการ (workshop) การฮายลาย โดยช่างฝีมือ คุณแม่บัวลอย มหาพรหมเป็นผู้สาธิต และสอนวิธีการฮายลาย แจกอุปกรณ์และวัสดุในการฮายลายเครื่องเขินแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 40 ชุด

โดยวิทยากรจากเมืองคานาซาวะ ประเทศญี่ปุ่น และเมืองเชียงใหม่ ประเทศไทย

คุณชินยะ ยามามูระ วิทยาลัยศิลปะคานาซาวะ

คุณโชอิสึ นิชิมูระ สมาคมเครื่องเขินเมืองคานาซาวะ

คุณโนบุฮิสะ คาวาโมโตะ สถาบันอุทัสสึยามะ โคเกอิ โกโบ

คุณโคอิชิ นากาโนะ ช่างฝีมือเครื่องเขินญี่ปุ่น เมืองคานาซาวะ

อ.วิถี พานิชพันธ์ อาจารย์คณะวิจิตร์ศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อ.ฐาปกรณ์ เครือระยา อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

อ.ศราวุธ  รูปิน อาจารย์ประจำคณะวิจิตร์ศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่