Back

ย้อมคราม “บีบ รัด มัด หนีบ”

ย้อมคราม “บีบ รัด มัด หนีบ”

วิทยากร : คุณพีรพงษ์ รัตนะศรีนุรังกุล ลักษณะกิจกรรม

  1. เรียนรู้กระบวนการปลูกครามหมักคราม และ การย้อมคราม
  2. ปฏิบัติการทดลองย้อมครามด้วยเทคนิคการบีบ การรัด การมัด การหนีบผ้า จากผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้ชํานาญการในด้านย้อมครามโดยเฉพาะ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้รับข้อมูลและการปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และสามารถนําวิธีการย้อมครามตามภูมิปัญญาล้านนาไปประยุกต์ใช้กับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใน รูปแบบอื่น

ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ ได้ใช้สีครามที่มาจาก “ฮ่อม” สีครามเป็นสีธรรมชาติปรากฏในงานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านล้านนามาช้านาน ชาวบ้านภาคเหนือ ย้อมผ้าสีคราม หรือเป็นที่รู้จักว่าสีหม้อห้อม (ม่อฮ่อม) โดยใช้ใบต้นฮ่อม คนรุ่นปู่ย่าในภาคเหนือกล่าวถึงการเลี้ยงฮ่อมว่า เป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนเหมือนไสยศาสตร์ที่อยู่ เหนือการควบคุม หม้อห้อม (ม่อฮ่อม) เป็นสิ่งมีชีวิต การเลี้ยงฮ่อม เป็นศาสตร์และศิลป์ ไม่มีสูตรแน่นอนตายตัว ต้องอาศัยการสังเกต ทั้ง “ดู ดม ชิม” ด้วยความ ชํานาญเท่านั้น

การสาธิตเริ่มเรียนรู้จากการ “โจก” คือ ตักของเหลวที่เป็นส่วนผสมในหม้อห้อม (ม่อฮ่อม) ขึ้นสูง 1 ฟุต แล้วเทกลับลงไปในหม้อใหม่ทำอย่างนี้ประมาณ 3-4 ครั้ง ต่อรอบ วันละ 1-2 รอบ เช้าและเย็น การโจก นี้ทำเพื่อเติมอากาศให้กับจุลินทรีย์ภายในหม้อห้อม (ม่อฮ่อม) ให้พร้อมที่จะนำไปใช้ย้อมผ้า ทั้งนี้เทคนิคในการสังเกต สามารถดูได้จากจากฟอง ที่เรียกว่า “ปวก” จะมีสีน้ำเงินเหลือบม่วงแดง น้ำย้อมจะมีสีเหลืองเหลือบน้ำตาล จึงจะสามารถนำมาย้อมผ้าได้

ในกิจกรรม “บีบ รัด มัด หนีบ” หม้อห้อม (ม่อฮ่อม) วิทยากรได้เตรียมการก่อหม้อห้อมมาก่อนการทดลองเป็นเวลา 2 คืน ฮ่อม 1 หม้อ ในวันแรกจะย้อมผ้าพันคอได้ประมาณ 17 ผืน และต้องเดิม เนื้อฮ่อม น้ำด่าง มะขามเปียก และพักทิ้งไว้อีก 1 คืน ในวันที่ 2 จึงจะสามารถนำมาใช้ย้อมได้อีก ครั้ง ทั้งนี้หากต้องการย้อมต่อไปเรื่อยๆ จะต้องมีการเติมเชื้อ ที่เรียกว่า “เลี้ยงหม้อฮ่อม” โดยเดิม เนื้ออ่อน น้ำด่าง มะขามเปียก และพักทิ้งไว้ ทำอย่างนี้ซ้ำไปเรื่อยๆ ก็ จะสามารถนำผ้ามาย้อมหม้อฮ่อม ได้ทุกวัน