Back

โครงการสัมมนา Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015

แนวคิดของโครงการสัมมนา Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015

ประเทศไทยได้เผชิญกับสถานการณ์ทางสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่าง รวดเร็ว ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงหลายครั้งอันนํามาสู่การจัดการจัดทําแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เผชิญ ทั้งนี้องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีนโยบายการทํางานที่มุ่ง แก้ปัญหาของประเทศ และสอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ของรัฐบาล ที่ให้ ความสําคัญกับการพัฒนา “เมืองสร้างสรรค์” (Creative City) ซึ่งมุ่งเน้นและเสริมสร้างเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น และเตรียมการเรื่องนี้ คือ การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยฐาน ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรม และการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยการส่งเสริมการพัฒนาเมือง สร้างสรรค์ควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจสร้างสรรค์ ตามแนวทางเสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการและบุคลากร ในการใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อการเพิ่มมูลค่าของสินค้าและบริการเพื่อสนับสนุนการลงทุน และการพัฒนา อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมการจดทะเบียน การใช้และการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา สนับสนุนการ ศึกษาวิจัยประเด็นที่สําคัญเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และการพัฒนาเครือข่ายเทคโนโลยี สารสนเทศ การสื่อสารที่มีคุณภาพ ทันสมัย เพื่อสร้างบรรยากาศ และสภาวะที่เอื้ออํานวยต่อการเรียนรู้ เช่น การพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ พื้นที่สาธารณะ การจัดกิจกรรม ฝึกอบรม และงานแสดงสินค้า และบริการ สร้างสรรค์สาขาต่างๆ เพื่อสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเครือข่ายของการผลิต การค้าและการ บริการของธุรกิจ สร้างสรรค์ของภูมิภาคอาเชียน (Creative Hub of ASEAN)

เพื่อให้บรรลุตามพันธสัญญาการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของรัฐบาล องค์การบริหาร ส่วนจังหวัดเชียงใหม่ จึงได้ดําเนินงานโครงการขับเคลื่อนเมืองเชียงใหม่ เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ องค์การยูเนสโก (สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน) โดยร่วมกับคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สํานักงานส่งเสริมวิทยาศาสตร์ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประกอบการ ชุมชนหัตถกรรม ใน จังหวัดเชียงใหม่ จัดสัมมนา Chiang Mai Crafts and Folk Art Forum 2015 และงานนิทรรศการศิลปะ พื้นบ้านนานาชาติ (Crafts and Folk Art International Exhibition) ขึ้น ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นส่วนในการที่จะผลักดันเมืองเชียงใหม่ ให้ก้าวสู่เมืองสร้างสรรค์ สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านขององค์การ UNESCO

การสัมมนาครั้งนี้ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางการผลิตหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน และ เกิดการตอบสนอง ต่อผู้ใช้งานได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสร้างทุนทางวัฒนธรรม ที่มีความหมาย มุ่งเน้น คุณค่า และยังประโยชน์ให้กับประเทศชาติอีกทั้งยังเป็นการสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดเวที แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการทํางาน และเทคนิควิธีการต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบ การชาวเชียงใหม่และชาวไทย

การประชุมครั้งนี้มุ่งเน้นให้เกิดการตระหนักถึงความสําคัญในโอกาสจากการพบปะแลกเปลี่ยน ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการสนับสนุน นโยบายและส่งเสริมการผลิตงาน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน จากหลากหลายประเทศ อาทิ เมืองสร้างสรรค์ จิ๋งเต๋อเจิ้น สาธารณรัฐ ประชาชนจีน, เมืองสร้างสรรค์ นครเพกาลองงัน จังหวัดชวากลาง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย, สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน), ประเทศอินเดีย, ราชอาณาจักรกัมพูชา, สาธรณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, สาธารณรัฐแห่ง สหภาพเมียนมา และหน่วยงานภาครัฐของไทย มาให้นโยบายและความรู้ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้เข้า ร่วมประชุมในการเตรียมความพร้อมของเมืองเชียงใหม่สู่เมืองสร้างสรรค์ขององค์การ UNESCO สาขา หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านต่อไปในอนาคต

ช่วงเวลา วันที่ 19 – 22 พฤศจิกายน 2558

วัตถุประสงค์

1. เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การอนุรักษ์ พัฒนา การจัดการงานหัตถกรรมและศิลปะ พื้นบ้านของประเทศต่างๆ
2. เพื่อเสริมศักยภาพของเมืองและประเทศในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและการสร้างเครือข่ายงาน หัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านระหว่างประเทศ
3. เพื่อเป็นการเผยแพร่งานหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้านของเมืองเชียงใหม่ให้เป็นที่รู้จักในระดับ นานาชาติ
4. เพื่อให้หน่วยงานราชการประชาชน ชาวบ้าน สล่า ช่างฝีมือ และคนรุ่นใหม่ ได้รับทราบแนว ปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับ “เมืองสร้างสรรค์” และเปิดพื้นที่ แสดงศักยภาพ ของงานหัตถกรรมและศิลปะพื้น บ้านให้สังคมรับทราบ

สถานที่ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ชุมชนศรีสุพรรณ และวัดต้นแกว๋น

ประเทศที่เข้าร่วมสัมมนา สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐอินโดนีเชีย สาธารณรัฐอินเดีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา